บทความ

คาถาบูชาพระแม่กาลี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี (2567)

คาถาบูชาพระแม่กาลี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี (2567)
คาถาบูชาพระแม่กาลี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี (2567)

วันนี้เรา CCTGROUP รวบรวม คาถาบูชาพระแม่กาลี พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี (2567) มาให้ทุกท่านที่เป็นสายมู บางท่านไปถึงสถานที่แล้วแต่คนเยอะ มองบทสวดไม่เห็น ไม่เป็นไรครับ เรารวบรวมมาให้ทั้งหมดแล้ว ไม่ต้องไปแย่งกันอ่านกันแล้วครับ

ประวัติพระแม่กาลี

พระแม่กาลี หรือ กาลิกา เป็นปางอวตารภาคที่ 1 ของพระอุมาเทวี ซึ่งเป็นพระแม่ผู้เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด และเป็นเทวีแห่งอำนาจบารมีและวาสนาอันสูงสุด ลักษณะของพระแม่กาลี คือ ท่านมีกายสดำสนิท พระพักตร์ดุร้าย มี 10 พระกรที่ถืออาวุธยาว และแลบลิ้นยาว นอกจากนี้แล้วริมฝีปากของท่านยังมีเลือดหยดเป็นทางยาวอีกด้วย เครื่องประดับของพระแม่กาลีคือ หัวกะโหลกและงูใหญ่ที่ร้อยคาดเป็นสังวาลย์

พระแม่กาลีมีอำนาจในการจัดการสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง มีพละกำลังอันยิ่งใหญ่ที่สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรได้อย่างรุนแรง หากใครบูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น และหากใครสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระแม่จะประทานความปลอดภัย และความผาสุขมาสู่ผู้นั้น ท่านจะช่วยคุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง

บทสวดคาถาบูชาพระแม่กาลี

ประวัติพระแม่อุมาเทวี

พระแม่อุมาเทวี หรือ ปารวตี เป็นเทวีผู้เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด ทรงเป็นพระชายาของพระศิวะ มหาเทพอันยิ่งใหญ่ และยังเป็นพระมารดาของพระพิฆเนศ พระแม่อุมาเทวีมีสัญลักษณ์ประจำกายคือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์) มีศาสตราวุธเป็นตรีศูล ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการปรามสิ่งชั่วร้าย อีกทั้งยังมีดาบที่เป็นสัญลักษณ์ของความเฉียบขาด พระองค์มีทิพยรูปเป็นหญิงสาวงดงาม ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสวยงาม ประดับด้วยทองคำงามล้ำค่า นอกจากนี้พระองค์ยังเปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา และถือเป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ใครที่หมั่นบูชา ท่องบทสวดพระแม่อุมาอย่างสม่ำเสมอ เชื่อว่าพระองค์จะประทานพร ยศถาบรรดาศักดิ์ และความยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้บูชา

พระแม่อุมาเกิดวันไหน

พระแม่อุมาถือกำเนิดในคืนที่ 9 เดือนมธุ (มีนาคม-เมษายน) พระแม่อุมาทรงเป็นที่รักยิ่งของทุก ๆ คน จึงได้นามว่าพระปารวตี และในช่วงวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 11 รวม 9 วัน 9 คืนนั้น คือเทศกาลดูเซร่า หรือนวราตรี ของชาวฮินดู ซึ่งจะเป็นงานแห่องค์พระแม่อุมา และยังเชื่อกันอีกว่าในช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่พระแม่และขบวนเทพจะเสด็จมายังโลกเพื่อประทานพรให้กับมนุษย์เรา

บทสวดคาถาบูชาพระแม่อุมา

ควรสวดบทบูชาพระพิฆเนศก่อนบทสวดพระแม่อุมาเสมอ ซึ่งบทสวดนี้จะมีอยู่หลายบทควรเลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือสวดทั้งหมด ซึ่งสถานที่ที่คนมักจะไปกันคือพระแม่อุมาเทวีวัดแขก ใครอยู่แถวสีลมก็สามารถแวะไปบูชากันได้ คาถาและบทสวด มีหลายบท ให้เลือกสวดบทใดบทหนึ่ง (หรือสวดทั้งหมด)

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

บทสวดคาถาบูชาพระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา

พระแม่อุมาเทวีวัดแขก นั้นเป็นที่เลื่องลือในการขอพรเรื่องความรักและการขอบุตร ซึ่งวัดแขกนี้เป็นวัดฮินดูในไทยที่ศักดิ์สิทธิ์มาก วิธีขอพรพระแม่อุมาเทวีนอกจากจะมีบทสวดพระแม่อุมาแล้ว ควรจะเตรียมของไหว้พระแม่อุมาไปให้พร้อม หรือใครอยากไปซื้อหน้าวัดก็มีขายให้เป็นเซตแต่ราคาอาจจะสูงไปนิด

ของที่ควรเตรียม : น้ำมัน น้ำแดง นม กล้วย อ้อย มาลัยดอกดาวเรือง ดอกบัว หรือจะเลือกดอกไม้ที่เน้นสีเหลืองและสีแดง ซึ่งเป็นสีดอกไม้ที่พระองค์โปรด

อาหารที่ถวาย : ควรเป็นอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ กลิ่นไม่แรง หรือจะเป็นขนมที่เป็นรสชาติมัน เช่น ขนมโมทกะและขนมลาดู รวมทั้งธัญพืชและผลไม้ทุกชนิดก็สามารถเอามาถวายได้

การไหว้พระแม่อุมาเทวี จะขอพรจุดธูป 9 ดอก (องค์เทพองค์พรหม) บนบานใช้ 39 ดอก แต่ถ้าบวงสรวงใช้ 16 ดอก

ประวัติพระแม่ลักษมีเทวี

พระแม่ลักษมีเทวี เป็นพระชายาของพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ผู้ที่นับถือศรัทธาจะถือว่า พระแม่ลักษมี เป็นเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักจะประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ โดยในภาพมักเขียนถึงพระแม่ลักษมีว่าเป็นสตรีที่งดงาม มี 2 กรแบบคนธรรมดา (บางตำราก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทอง เสื้อทรงสีเหลือง แดง หรือชมพู นั่งหรือยืนบนดอกบัว (บางตำราก็ว่านั่งบนหลังช้าง) และมือถือดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก (บางตำราก็ว่าถือหม้อน้ำในมือหนึ่ง อีกมือหนึ่งหงายลงสู่พื้น มีเหรียญทองโปรยปรายลงมา เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย)

พระแม่ลักษมีมักจะอวตารไปเป็นชายาของพระวิษณุ (พระนารายณ์ ผู้ดูแลรักษาโลก) อยู่ทุกครั้งไป เช่น เมื่อ พระวิษณุ อวตารเป็น พระราม พระแม่ลักษมีก็ตามไปเกิดเป็น พระนางสีดา ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุ อวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี และในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น ด้วยความรักเดียวใจเดียวและความซื่อสัตย์ มั่นในรักของพระแม่ลักษมีที่มีต่อพระสวามี ผู้ที่นับถือพระองค์จึงเชื่อกันว่า การบูชาพระแม่ลักษมีจะช่วยเสริมดวงด้านความรักได้อีกด้วย

พาหนะแห่งองค์พระแม่ลักษมี คือ ช้าง คนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวายนั่นเอง นอกจากช้างแล้ว ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น ว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระแม่ลักษมีมาแต่โบราณ ซึ่งจะเก่าแก่เท่าใดก็ไม่ทราบได้ แต่อย่างน้อยต้องเก่าถึงสมัยที่ยังใช้เบี้ยจั่นแทนเงินตรากันอยู่ เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่งโภคทรัพย์ ความร่ำรวย จึงย่อมทรงเกี่ยวข้องกับเงินตรา ซึ่งแทนด้วยเบี้ยจั่นนั้น

การที่พระแม่ลักษมีทรงเกี่ยวข้องกับความร่ำรวย ก็เพราะพระนางทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์นั้น ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง ก็หมายถึง พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้อย่างมากมาย อีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรในอินเดียจึงบูชาพระแม่ลักษมีในภาคที่เป็น พระแม่โพสพ ดังมีพระนามในการนี้โดยเฉพาะว่า พระธัญญลักษมี (Dhanya Lakshmi)

คาถาบูชาพระพิฆเนศ

คาถาบูชาพระแม่ลักษมี

✅ สินค้าราคาโรงงาน ขาย ปลีก-ส่ง
✅ รับประกันคุณภาพสินค้าทุกชิ้น
✅ มีระบบผ่อนจ่าย ตามความสะดวกของลูกค้า
✅ สามารถผลิตในแบรนด์ของลูกค้าเองได้
✅ มีบริการจัดส่ง – ติดตั้ง ทั่วประเทศ
✅ สอบถาม-ปรึกษา(ฟรี)

สนใจดูตัวอย่างสินค้า/เป็นตัวแทนขาย
Inbox: m.me/CCTGROUPCompany
Email : [email protected]
Line: Lakkana99
โทร : 0816428556 (คุณลักขณา)
Website : https://www.cctgroup.co.th
Facebook : บัวเชิงผนัง พื้นไม้ลามิเนต กระเบื้องยาง By CCT Group